วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

Jazz Music ตอนที่ 1

ที่มาของดนตรีแจ๊ส
เชื่อกันว่าดนตรีแจ๊สมีต้นกำเนิดราวทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band: ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า "แจ๊ส" ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีสามารถขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น .. อย่างไรก็ตามโอดีเจบีไม่ได้เป็นผู้ให้กำเนิดท่วงทำนองดังกล่าว หากแต่นำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาจากเพลงพื้นบ้านในแถบนิวออร์ลีนส์มาประยุกต์อีกที มีการวิเคราะห์รากลึกของแจ๊สในหลายทาง หนึ่งในนั้นคือเกิดจากดนตรีของกลุ่มทาสที่เดินทางมาจากแอฟริกาเพื่อเป็นแรงงานเกษตรกรรม กลุ่มทาสเหล่านี้มีพื้นฐานในเรื่องจังหวะมาจากเพลงพื้นบ้านหรือดนตรีในพิธีทางศาสนาอยู่แล้ว ประกอบกับได้ซึมซับดนตรีของคนผิวขาว จากยุโรป จึงเกิดการผสมผสานกันกลายเป็นเพลงบลูส์ (Blues) วิเคราะห์กันว่าโน๊ตที่แปลกแปร่งของบลูส์ เกิดจากการที่คนผิวดำเหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้าง เพราะจำมาไม่ครบถ้วน มีการขยายความด้วยความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลายเป็นที่มาของคีตปฏิภาณ (Improvisation) ในภายหลัง .. ดนตรีแร็กไทม์ (Ragtime) ก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดคล้ายๆ กันคือ เกิดจากดนตรียุโรปผสมกับจังหวะขัดของแอฟริกัน .. บลูส์และแร็กไทม์นี่เองที่เป็นรากของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา แร็กไทม์มีช่วงเวลาที่รุ่งเรืองอยู่ราวๆ ทศวรรษ 1890 ถึง 1910 มีเสน่ห์และเอกลักษณ์ที่จังหวะขัด (Syncopation) นักดนตรีแร็กไทม์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งก็คือ สก็อตต์ จอปลิน (Scott Joplin) ผู้ประพันธ์เพลงที่เราคุ้นหูหลายๆ เพลง เช่น The Entertainer, Maple Leaf Rag, Elite Syncopations, Peacherine Rag เป็นต้น หากไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน แนะนำให้หาฟังดูแล้วจะร้องอ๋อ .. หรือถ้าชอบดูหนังลองหา The Sting มาดู มีเพลงของจอปลินประกอบเกือบทั้งเรื่อง หรือไม่ก็ The Legend of 1900 (UBC เคยเอามาฉาย) แม้เรื่องหลังนี้จะกล่าวถึงดนตรีแจ๊ส แต่มีหลายเพลงที่มีกลิ่นรสของแร็กไทม์ที่เข้มข้นทีเดียวโดยเฉพาะตอนดวลเปียโน
เพลงบลูส์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาเดียวกันกับแร็กไทม์ ปลายๆ ทศวรรษ 1910 เพลงบลูส์และแร็กไทม์ถูกผสมผสานจนกลมกลืนโดยมีหัวหอกคือ บัดดี โบลเดน (Charles Joseph 'Buddy' Bolden) เป็นผู้ริเริ่ม หากแต่เวลานั้นยังไม่มีการประดิษฐ์คำว่าแจ๊สขึ้นมา และเรียกดนตรีเหล่านี้รวมๆ กันว่า "ฮ็อต มิวสิค" (Hot Music) จนกระทั่งโอดีเจบีโด่งดัง คำว่า แจ๊ส จึงเป็นคำที่ใช้เรียกขานกันทั่ว .. แจ๊สในยุคแรกนี้เรียกกันว่าเป็น แจ๊สดั้งเดิม หรือ นิวออร์ลีนส์แจ๊ส

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

Ab-Lib Geneuses เรียนดนตรี เพื่อเรียนรู้ตัวตนที่แท้จริง

Ab-Lib Geneuses เรียนดนตรี เพื่อเรียนรู้ตัวตนที่แท้จริง


ด้วยหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ ที่ไม่มีที่ใดมาก่อน
เราขอตั้งชื่อว่า " กระบวนการเรียนรู้แบบจับต้น - ชนปลาย "

หลักสูตรการเรียน – การสอน
วิชาที่เปิดสอน
1) ปฏิบัติกีตาร์โปร่ง / กีตาร์ไฟฟ้า / กีตาร์คลาสิค ( Folk Guitar / Classic Guitar / Fingering Style / Electric Guitar )
2) ปฏิบัติกีตาร์เบสไฟฟ้า ( Electric Bass Guitar )
3) ปฏิบัติกลองชุด ( Drum Set )
4) ทฤษฎีดนตรีสากล ( Theory of music )
5) การเรียบเรียงเสียงประสาน ( Arrange & Orchestration )
6) การประสานเสียง ( Traditional Harmony / Modern Harmony )
7) การแต่งเพลง - การสอดประสานทำนอง ( Composition & Counter Point )
ทุกวิชาที่เปิดสอน เน้นทฤษฎี + ปฏิบัติ + การนำไปใช้งาน สอนโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีโดยเฉพาะ
( ทุกหลักสูตร จะประเมินผลทุก 3 เดือน / ระยะเวลาของแต่ละหลักสูตร ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้เรียน )


ระเบียบการเรียน – การสอน

1) ค่าเรียนทุกหลักสูตร 1,000.- / เดือน ( 4 ครั้ง )
2) ระยะเวลาของการเรียน – การสอน 1 ½ ชม. / 1 คน / สัปดาห์
3) ชำระค่าเรียน ทุกครั้งที่ 1 ของการเรียนการสอน ในแต่ละเดือน
4) ผู้เรียนสามารถหยุดหรือลาได้ แต่ภายในสัปดาห์นั้นต้องเรียนชดเชย มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เวลาเรียนของตนเอง
ยกเว้น ครูผู้สอน ไม่สามารถหาวันชดเชยให้ได้ สิทธิ์นั้นจะนำไปชดเชยในเดือนถัดไป
( วัน – เวลาที่ชดเชย ครูผู้สอน กับผู้เรียนจะเป็นผู้ที่ตกลงกันเอง )
5) กรณีที่ครูผู้สอนหยุดหรือลา สิทธิ์เวลาเรียนของผู้เรียน จะนำไปชดเชยในเดือนถัดไป
ยกเว้น ได้มีการเรียนชดเชย ภายในเดือนนั้นไปแล้ว